เมนู

ในคราวเดียว ชนทั้งหลายจะสะดุ้งในปลีกตัวออกต่าง ๆ จากการปฏิบัติไม่เชื่อฟัง ก็ชนเหล่าใด
ไม่เชื่อคำเรา ชนเหล่านั้นจักมีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้า อนึ่ง แม้ผู้ที่อยากจะบวชในพระพุทธ-
ศาสนา ก็จักไม่บวชเสีย เพราะท้อใจว่า กิจที่จะต้องทำไหนศาสนานี้มากนัก ยากที่จะกระทำได้
อาศัยเหตุนี้ พระมหามุนีบรมสุคตเจ้าจึงปล่อยไว้ ไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทก่อน ต่อมีเรื่องบังเกิด
ขึ้น จึงปลุกให้รู้สึกด้วยธรรมเทศนา เมื่อมีความเสียหายปรากฏฟุ้งขจรไปแล้ว จึงบัญญัติ
สิกขาบท การที่พระตถาคตไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทเป็นข้อกฎข้อบังคับไว้ก่อนกระทำผิดนี้ มิใช่
เป็นด้วยพระองค์มีความรู้ไม่เท่าไม่ทันกาลอนาคต พระองค์มีพระสติตั้งมั่นรอบคอบต่อเหตุผล
ทั้งประกอบไปด้วยพระกรุณาในประชาชน ดังวิสัชนามาฉะนี้ นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี เมื่อพระนาคเสนถวายวิสัชนามาดังนี้ ก็มีจิตชื่นชม
โสมนัส ทรงอนุวัติถ้อยคำของพระเถระและตรัสชมว่า เอวเมตํ ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้ปรีชาญาณ การทั้งนี้อาจเป็นได้เช่นนั้น ตามที่พระผู้เป็นเจ้าชี้แจงแสดงแก้ไขมานั้น
โยมเห็นแจ้งแจ่มกระจ่างตลอดแล้ว ชนทั้งหลายได้ฟังว่า กิจที่จะต้องทำในศาสนานี้มีมากดังนี้แล้ว
ย่อมจะเกิดความสะดุ้งท้อถอย จะไม่มีใครบวชในชินศาสนาแม้สักคนหนึ่ง การที่พระตถาคต
ไม่ทรงบัญญัติสักขาบทคาดหน้าก็เป็นเพราะเหตุนี้ พระผู้เป็นเจ้าแก้ดีแก้ถูก โยมเห็นด้วยทุก
ประการ โยมจะทรงจำไว้ ดังนัยที่วิสัชนามานี้
สิกขาปทอปัญญาปนปัญหา คำรบ 2 จบเพียงนี้

สุริยโรคภาวปัญหา ที่ 3


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชามหากษัตริย์ขัตติยาธิบดีพระราชโองกาตรัสถามปัญหา
อื่นสืบไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา พระอาทิตย์นี้แผดแสงแรงกล้าตลอด
กาลทุกเมื่อ หรือว่าบางคราวก็แผดแสงอ่อน โยมมีความสงสัย ขอพระผู้เป็นเจ้าจงชี้แจง
แถลงนัยให้โยมทราบในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า สพฺกาลํ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
พระอาทิตย์แผดแสงกล้าเป็นนิตย์ จะได้อ่านในบางคราวกล้าในบางครั้งหามิได้ บพิตรจงทราบ
ในพระหฤทัยด้วยประการฉะนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ จึงมีพระราชโองการตรัสถามต่อไปอีกว่า ยทิ ภนฺเต

นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ถ้าพระอาทิตย์แผดแสงแรงกล้าเป็นนิตย์ ก็เหตุไรในบางที
จึงแผดแสงอ่อน บางทีจึงแผดแสงกล้าเล่า พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรวิสัชนาว่า จตฺตาโรเม มหาราช ดูรานะบพิตรผู้เป็นราชา
แห่งชาวสาคลนครผู้ประเสริฐ โรคของพระอาทิตย์มีอยู่ 4 อย่าง พระอาทิตย์ถูกโรคใดโรคหนึ่ง
เบียดเบียนแล้วย่อมแผดแสงน้อยไป โรค 4 อย่างนั้น คือหมอกอย่าง 1 ควันอย่าง 1 เมฆอย่าง
1 ราหูอย่าง 1 พระอาทิตย์เมื่อโรค 4 อย่างใดอย่างหนึ่งเบียดเบียน ย่อมแผดแสงอ่อน
คือ เมื่อถูกหมอกเบียดเบียนก็แผดแสดงอ่อน เมื่อถูกควันเบียดเบียนก็แผดแสงอ่อน เมื่อถูกเมฆ
เบียดเบียดก็แผดแสงอ่อน เมื่อถูกราหูเบียดเบียนก็แผดแสงอ่อนดังนี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี เมื่อพระนาคเสนถวายพระพรวิสัชนามาดังนี้แล้ว
ตรัสว่า อจฺฉริยํ ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ประหลาดจริงนะพระผู้เป็นเจ้า
แม้พระอาทิตย์มีเดชมากสมบูรณ์ไปด้วยเดชเห็นปานนี้ ยังมีโรคบังเกิดขึ้นได้ จะป่วยกล่าวไปไย
โรคทั้งหลายจึงจักไม่บังเกิดแก่สัตว์อื่น ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า การอธิบายจำแนกแจกจ่ายขยายความ
โยมยกให้พระผู้เป็นเจ้า ผู้อื่นนอกจากท่านที่มีปัญญาเช่นพระผู้เป็นเจ้าแล้วเป็นอธิบายไม่ได้
โยมขอรับจดจำไว้ ณ กาลบัดนี้
สุริยโรคภาวปัญหา คำรบ 3 จบเพียงนี้

สุริยตัปปภาวปัญหา ที่ 4


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชามหิศราธิบดี มีพระราชโองการดำรัสตรัสถามปัญหาอื่น
สืบไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา โยมนี้มีความสงสัย เหตุไฉนในเหมันตฤดู
พระอาทิตย์จึงแผดแสงกล้า ในคิมหฤดูเหตุไฉนจึงแผดแสงอ่อนไป ไม่แผดแสงกล้าเหมือนอย่างนั้น
พระนาคเสนถวายพระพรวิสัชนาว่า คิมฺเหสุ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร
ในคิมหฤดูทั้งหลายมีละอองน้ำตกน้อย มักจะตั้งอยู่เสียในเบื้องบน ไม่ค่อยจะตกลงมา อนึ่ง เรณู
ละอองทั้งหลายก็ย่อมฟุ้งไปตามท้องฟ้า แม้ในอากาศก็มีหมอกมาก ทั้งลมใหญ่ก็พัดจัด สิ่งทั้ง
ปวงมีละอองน้ำเป็นต้นนั้น จึงอากูลเรี่ยรายไปในที่ต่าง ๆ รวมกำลังช่วยกันบังแสงพระอาทิตย์
เสีย เหตุฉะนั้น ในคิมหฤดู พระอาทิตย์จึงแผดแสงอ่อน